top of page

การจัดการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ ตอนที่ 1 Overview of e-Commerce

  • รูปภาพนักเขียน: Buss Leejoeiwara
    Buss Leejoeiwara
  • 24 เม.ย. 2562
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 18 พ.ค. 2562


“Once upon a time, business as usual was good enough, No more …where we are going, good enough is dead”

Gerd Leonard, May 11th, 2016


การครั้งหนึ่ง การทำธุรกิจแบบปกติธรรมดาเป็นสิ่งที่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินได้ไปเรื่อยๆ แต่ในโลกอนาคตต่อจากนี้ สิ่งที่เคยเป็นเพียงจินตนาการและเกิดขึ้นในภาพยนต์ sci fi เกิดขึ้นจริงแล้ว เราเข้าสู่ยุคที่หลายสิ่งหลายอย่างทำงานโดยเครื่องจักรหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติ งานหลายๆงานที่เคยทำโดยมนุษย์ถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ที่ความผิดพลาดแทบจะเป็นศูนย์ เราจำเป็นที่จะต้องมีทักษะความสามารถใหม่ๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่ก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงของกระแสการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่สามารถทำให้เป็นดิจิทัลได้จะโดนทำให้กลายเป็นดิทัลทั้งหมด ในขณะที่สิ่งไม่สามารถทำให้เป็นดิจิทัลได้ จะมีคุณค่ามากขึ้น


สภาพแวดล้อมทางการตลาด

ตลาดอีคอมเมิร์สในประเทศไทยเมื่อปี 2018 มีพัฒนาการการแข่งขันค่อนข้างดุเดือดในแง่ของการเป็นแพลตฟอร์มตลาด eMarketplace ทั้งการเปิดตัวของ JD Central ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง JD ของจีนและเซ็นทรัลของไทยเพื่อจับตลาดบน เป็นห้างออนไลน์ที่คัดของแท้เกรดพรีเมี่ยม ในขณะที่ลาซาด้าและช็อปปี้สลับกันครองอันดับหนึ่งในแง่ของส่วนแบ่งตลาดด้วยการให้เปิดร้านค้าฟรี ไม่มีค่าคอมมิชชั่น ทุบงบประมาณมหาศาลทางการตลาดในการจัดโปรโมชั่นเทศกาลช็อปปิ้งในช่วง 9.9, 10.10, 11.11 หรือ 12.12 ทำให้ยอดขายโตต่อเนื่อง สินค้าจีนไหลทะลักเข้ามาในเว็บ Lazada และ Shopee คนในต่างจังหวัดตอบรับการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น การค้าขายผ่านโซเชียลมีเดียเติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมการขนส่ง (logistics and deliver services) และการเงินเติบโตแข่งขันกันสูงเช่นกัน เคอร์รี่จากฮ่องกงขยายสาขาภายในปีเดียวกลายเป็นพันกว่าสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ มีระบบบริหารจัดการทีทันสมัย ทำให้ไปรษณีย์ไทยต้องปรับตัวหนักมาก อย่างไรก็ตาม สตาร์ทอัพไทยในอุตสาหกรรมการขนส่งก็เกิดขึ้นและเติบโตไปในระบบ ecosystem ของอีคอมเมิร์สไปด้วย เช่น Shippop Lineman Lalamove ในส่วนของอีมาร์เก็ตเพลส ธนาคาร เฟสบุค ไลน์ และกูเกิล ต่างก็มีแนวโน้มในการที่จะขยับสู่การเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์สแบบครบวงจรทั้งสิ้น (https://www.prachachat.net/ict/news-279682 18 มค. 2019)


ธนาคารกสิกรไทยได้มีการต่อยอดจากแอพพลิเคชั่นเคพลัส เปิด KPlus Market ให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำโมบายคอมเมิร์ส รวมถึงให้บริการชำระเงินผ่าน Facebook จับมือกันร่วมลงทุนกับ LINE และลงทุนกับ Grab เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการช็อปปิ้งผ่านโซเชียลคอมเมิร์สของคนไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ก็เช่นกันที่มีพัฒนาการในการให้บริการการเงินอย่างมากบนแพลตฟอร์มของไลน์ ธนาคารอื่นๆก็มุ่งไปสู่ทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ในแง่ของการรับชำระค่าสินค้า ผู้เล่นรายหลักๆมุ่งสู่การมี e-wallet เป็นของตนเอง ระบบแต้มจะถูกใช้แพร่หลายขึ้น มีผู้เล่นมากขึ้น point economy หรือระบบเศรษฐศาสตร์ของแต้มจะเติบโตมากในการค้าขายออนไลน์


ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีขนาดของตลาดอีคอมเมิร์สใหญ่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซีย แต่จากอัตราการเติบโต ประเทศเวียดนามจะแซงขึ้นเป็นอันดับสองภายในปี 2025



ประมาณการจากอัตราการเติบโตในปี 2015-2018 ขนาดของตลาดอินโดนีเซียจะใหญ่เป็นอันดับหนึ่งที่ 538,000 ล้านบาท (อัตราการเติบโต 94%) เวียดนามที่ 158,000 ล้านบาท (อัตราการเติบโต 87%) และประเทศไทยอยู่ที่ 138,000 ล้านบาท (อัตราการเติบโต 49%) ในปี 2025 Mr. Ben King แห่ง Google Thailand รายงานว่า ออนไลน์ชอปปิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โตแบบก้าวกระโดด โดยในปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เจ็ดแสนล้านบาท) โดยได้รับอานิสงส์จากผู้เล่นอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค ได้แก่ Shopee, Tokopedia และ Lazada ที่มีผู้ซื้อสินค้าจากทั้งสามแพล็ตฟอร์มราว 120 ล้านคนในปี 2018 และสัดส่วนของตลาดจากทั้ง 3 แพล็ตฟอร์มอยู่ที่ 70% ของธุรกิจออนไลน์ทั้งหมดในภูมิภาค (Marketingoops.com, March 18, 2019)


To be continued...

Comments


Contact Me

facebook: Buss Leejoeiwara

LineID: khunbuzz

bussle@kku.ac.th 

  • Facebook Social Icon
  • line
  • Instagram
  • Twitter Social Icon

© 2019 by Dr.Bussagorn Leejoeiwara . 

Success! Message received.

bottom of page